สถานที่ท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยงในอำเภอเบตงที่ "ต้องไป" ให้ได้


ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง

เพียงระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตรจากโรงแรมของเรา ท่านจะได้พบกับ 1 ในสุดยอดความสวยงามของทะเลหมอกในเมืองไทย ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 2,088 ฟุต หากท่านต้องการจะไปชมความงดงามของสถานที่แห่งนี้ ทางโรงแรมแนะนำว่าควรออกเดินทางจากโรงแรมเช้าตรู่ ไม่ควรเกินเวลา 05.00 น.

พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ

พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศตั้งอยู่บนจุดสุงสุดของเนินเขาในวัดพุทธาธิวาส ในตัวเมืองเบตง ด้วยความกว้างของฐานเจดีย์มีขนาดความกว้างถึง 39 เมตร และสูง 39.9 เมตร เทียบเท่าตึกสูง 13 ชั้น จึงได้รับขนานนามว่าเป็นมหาธาตุเจดีย์ที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ภายในองค์มหาธาตุเจีดย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สมควรอย่างยิ่งเมื่อมาถึงใต้สุดแดนสยามแล้ว จะได้กราบพระบรมสารีริกธาตุที่จุดสูงสุดของภาคใต้ เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นจากความคิดและการดำเนินการของอดีตประธานศาลฎีกา นายสวัสดิ์ โชติพานิช เพื่อเฉลิมฉลองและถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา จากเจดีย์สามารถมองเห็นทัศนียภาพของวัดและเมืองเบตงอีกมุมหนึ่งได้อย่างสวยงาม

ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ตู้เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองอำเภอเบตง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จุดประสงค์ที่สร้างไว้ในครั้งแรกก็เพื่อใช้เป็นที่กระจายข่าวสารบ้านเมืองให้ชาวเมืองเบตงจากวิทยุที่ติดตั้งอยู่ส่วนบนของตู้ และใช้เป็นตู้ไปรษณีย์มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์ขึ้นใหม่ใหญ่กว่าเดิมที่บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ มีความสูงประมาณ 9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

บ่อน้ำร้อนเบตง

บ่อน้ำร้อนเบตง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของเบตงที่มีน้ำพุเดือดขึ้นมาจากพื้นดินในหมู่บ้านจาเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ ก่อนถึงอำเภอเบตง 5 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 410 มีทางแยกขวาไปอีก 8 กิโลเมตร ตรงจุดบริเวณที่น้ำเดือดสามารถต้มไข่สุกภายใน 7 นาที ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยและรักษาโรคผิวหนังได้

อุโมงค์ปิยะมิตร

อุโมงค์ปิยะมิตร ใช้เส้นทางเดียวกับบ่อน้ำร้อน แต่อยู่เลยบ่อน้ำร้อนไปอีก 4 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เดิมเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (เขต 2) อุโมงค์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นอุโมงค์คดเคี้ยวเข้าไปในภูเขายาวประมาณ 1 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 50-60 ฟุต ใช้เวลาในการขุด 3 เดือน มีทางเข้าออกหลายทาง ใช้เป็นที่หลบภัยทางอากาศและสะสมเสบียง บริเวณจัดให้มีนิทรรศการแสดงภาพประวัติศาสตร์ รวมทั้งวิถีการดำเนินชีวิตภายในป่า ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่งของเบตง เปิดให้เข้าชมเวลา 8.00 น-16.30 น.